
การทำโนไดซ์ คือ
กระบวนการป้องกันการผุกร่อนของโลหะอลูมิเนียม โดยทำให้เกิดออกไซด์ของอลูมิเนียมที่เสถียร เคลือบผิวด้วยไฟฟ้า โดยกรรมวิธี อิเล็กโทรลิซิส
ออกไซด์ของอลูมิเนียมที่เกิดขึ้นจากการทำอโนไดซ์ จะมีลักษณะผิวด้าน
และมีรูพรุนเล็กมาก ๆ โดยรูพรุนนี้จะเป็นเหมือนฟองน้ำที่ดูดซับเก็บสีเอาไว้
และจะทำให้ผิวอลูมิเนียม ทนการกัดกร่อนได้มากขึ้น และผิวจะเป็นฉนวนไฟฟ้า

โดยปกติเมื่อทิ้งอลูมิเนียมไว้ในบรรยากาศ อลูมิเนียมจะทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศทำให้เกิดสนิมอลูมิเนียม ทำให้เกิดการกัดกร่อน และทำให้อลูมิเนียมเสื่อมสภาพ
การทำอโนไดซ์ ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นชั้นฟิล์มบางๆ มีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนได้ดี การทำอโนไดซ์อลูมิเนียม จะต้องใช้ใช้อลูมิเนียมบริสุทธิ์ การเกิดของชั้นฟิล์มจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในอลูมิเนียมที่มีโลหะอื่นผสม (alloys) โดยเฉพาะอลูมิเนียมที่ผสมแมกนิเซียม จะมีคุณสมบัติทนการกัดกร่อนลดลง ดังนั้นการทำอโนไดซ์ จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทนการกัดกร่อนของ อลูมิเมียมอัลลอย อลูมิเนียมที่เป็นชิ้นส่วนหลักทั้งหมด ที่ใช้ในเครื่องบิน จะเป็นอลูมิเนียมอโนไดซ์ นอกจากนั้น เรายังพบอลูมิเนียมอโนไดซ์ในเครื่องใช้ประจำวันของเราเช่น เครื่องเล่น MP3, ไฟฉาย ,เครื่องครัว, กล้อง,อุปกรณ์กีฬา มือถือ เป็นต้น
ซึ่งผลพลอยได้จากการทำอโนไดซ์ นอกจากจะทนการกัดกร่อนของบรรยากาศได้ดีขึ้น และแข็งแรงขึ้นแล้ว ยังสามารถย้อมสีได้อีกด้วย และซีลผิวเพื่อป้องกันผิวให้คงทน
ผิวของอลูมิเนียมที่ผ่านการอโนไดซ์แล้ว จะมีความสามารถในการนำความร้อนได้ลดลง และมีสัมประสิทธิการขยายตัวต่ำกว่าอลูมิเนียมบริสุทธิ์ ด้วยผลกระทบนี้ ผิวจะแตกร้าวเมื่อทิ้งไว้ในอุณหภูมิที่สูงกว่า 80°C ผิวของอลูมิเนียมที่ผ่านการอโนไดซ์แล้วจะมีจุดหลอมเหลวที่ 2050°C ซึ่งสูงกว่าอลูมิเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งจะหลอมเหลวที่ 658°C ดังนั้นอลูมิเนียมที่ผ่านการ
อโนไดซ์ จึงเชื่อมติดได้ยาก อลูมิเนียมออกไซด์ที่เกิดจากการอโนไดซ์ จะเกิดงอกขึ้นที่ผิว และส่วนหนึ่งกินลงไปที่เนื้อผิวเดิม ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน
ตัวอย่างเช่น การอโนไดซ์ความหนา 2 ไมโครเมตร ดังนั้นชิ้นงานจะมีความหนาเพิ่มขึ้นเพียง 1 ไมโครเมตร
(เพราะอีก 1ไมโครเมตรกินลงไปที่ผิวเดิม)
.............1mm=1000ไมโครเมตร 0.01 mm= 10 ไมครอน 1 ไมโครเมตร เล็กกว่าเส้นผม 1 แสนเท่า...............

หากการทำอโนไดซ์ ทำขึ้นในสารละลาย (ที่อลูมิเนียมออกไซด์สามารถละลายได้) เช่น กรดกัมมะถัน หรือกรดโครมิค ขนาดของรูพรุนที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10-150 นาโนเมตร ก่อตัวเป็นชั้นบางๆ ที่ผิว สามารถก่อตัวหนาขึ้น รูพรุนที่เกิดขึ้น ตอนนี้จะมีลักษณะเป็นเหมือนท่อทรงหกเหลี่ยมปลายเปิด ซึ่งยังสามารถถูกกัดกร่อนได้หากไม่มีการปิดผนึกปลายทรงกระบอกนี้
โดยทรงกระบอกเล็ก ๆ นี้จะเป็นที่ดูดซับ บรรจุสี หรือสารป้องกันการกัดกร่อน ซึ่งเราต้องปิดปลายกระบอกนี้เพื่อกักเก็บสี และปิดผิวด้วยสารเคมีป้องกันการกัดกร่อนไว้ภายใน สารปิดผิว ชนิดซีลเย็น AKE Hole Sealing ป้องกันผิวและสีให้คงทนสวยงามยาวนาน
การอโนไดซ์อลูมิเนียมมีด้วยกันสามชนิดหลัก ๆ (ตาม MIL-A-862S) คือ
Type I - Chromic Acid Anodization
Type II - Sulphuric Acid Anodization
Type III - sulphuric acid hardcoat anodization
และยังมีวิธีการอโนไดซ์อื่น ๆ อีกคือ ตาม MIL-A-63576, AMS 2469, AMS 2470, AMS 2471, AMS 2472,
AMS2482, ASTM B580, ISO 10074 และ BS 5599
การทำอโนไดซ์มีหลายชนิด ที่นิยมใช้กันในประเทศไทยคือ MIL-A-862S
และยังมีวิธีการอโนไดซ์อื่น ๆ อีกคือ ตาม MIL-A-63576, AMS 2469, AMS 2470, AMS 2471, AMS 2472, AMS2482,
ASTM B580, ISO 10074 และ BS 5599
สนใจศึกษาหาความรู้การทำอโนไดซ์ การชุบสีอลูมิเนียม สมัครลงทะเบียนเรียนได้ทางไลน์ ......... homeenergy ............ |